ผลไม้ในฤดูร้อนหลายชนิดจึงขึ้นชื่อว่ามีรสชาติอร่อย แต่สำหรับชาววัยทองหลายคนคงเคยถูกห้ามไม่ให้กินผลไม้บางชนิด ด้วยเหตุผลที่ว่ากินไปจะยิ่งเพิ่มความร้อนในร่างกายจนไม่สบายตัวนัก

สาระน่ารู้
ผลไม้ในฤดูร้อนหลายชนิดจึงขึ้นชื่อว่ามีรสชาติอร่อย แต่สำหรับชาววัยทองหลายคนคงเคยถูกห้ามไม่ให้กินผลไม้บางชนิด ด้วยเหตุผลที่ว่ากินไปจะยิ่งเพิ่มความร้อนในร่างกายจนไม่สบายตัวนัก
ดวงตาเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ เพราะการมองเห็นทำให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย หากสายตาเกิดความผิดปกติ ก็จะทำให้ใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่นัก โดยเฉพาะกับชาววัยทองที่ดวงตาเริ่มเสื่อมตามวัย
เมื่ออายุมากขึ้น ความกังวลอย่างหนึ่งของชาววัยทอง คือเรื่องของความจำที่จะเสื่อมลงไปตามกาลเวลา หลายคนยังอยากรักษาคุณภาพของสมองไว้ ไม่อยากให้ตนเองกลายเป็นคนหลงลืมง่าย รวมถึงไม่อยากเสียความทรงจำที่มีค่าไป
เรื่องของ “ฮอร์โมน” มักจะเป็นเรื่องที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ เมื่อพูดถึงเรื่องราวของสุขภาพ นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนมีความสำคัญต่อร่างกายของเราทุกคน และเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานในร่างกายเราทุกระบบ
ฮอร์โมนเป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายของเราสร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในร่างกาย ตั้งแต่เราเกิดจนกระทั่งเราตายไป บริเวณหรืออวัยวะที่สร้างเจ้าฮอร์โมนต่าง ๆ เหล่านี้ มีหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ตับอ่อน ต่อมหมวกไต หรือแม้แต่บริเวณที่เรารู้จักกันดี ก็คือ อัณฑะและรังไข่ เราเรียกรวม ๆ กันว่า ต่อมไร้ท่อนั่นเอง
เมื่อเราอายุมากขึ้นฮอร์โมนหลาย ๆ ตัวจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป นับไปตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่เราเห็นการเปลี่ยนแปลงมากทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศที่เพิ่มมากขึ้น แต่หลังจากนั้น โดยส่วนใหญ่เราจะพบว่าฮอร์โมนหลาย ๆ ตัว เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ฮอร์โมนทั้งเพศหญิง (Estrogen and Progesterone) เพศชาย (Testosterone) ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (DHEA)
หรือแม้แต่ ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับของเราให้ดีนั้น กลับค่อย ๆ ลดลง โดยเฉพาะเมื่ออายุของเราเลยวัยประมาณ 35-40 ปีไป
การขาดฮอร์โมนหรือมีระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลในร่างกาย มักแสดงทั้งอาการและอาการแสดงออกมาให้เราเห็น มีได้ตั้งแต่อาการทั่ว ๆ ไปที่ไม่จำเพราะกับการขาดฮอร์โมนหรือพร่องฮอร์โมนชนิดใด เช่น
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น สมองไม่แล่น นอนไม่ค่อยหลับ หรือแม้แต่ปัญหาของน้ำหนักเพิ่มง่ายแต่ลดยาก
ส่วนอาการที่จำเพาะหรือพอที่จะบอกได้ว่าเราน่าจะขาด หรือ พร่องฮอร์โมนตัวไหน ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
1. ฮอร์โมนทั้งเพศหญิง (Estrogen and Progesterone)
ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศหญิงเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่มักพบได้บ่อยในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยใกล้หมดประจำเดือน (Perimenopause) และวัยหมดประจำเดือน หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ วัยทอง (Menopause) นั่นเอง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ประจำเดือนที่มาไม่ปกติ ไม่สม่ำเสมอ (ในคนที่ยังไม่หมดประจำเดือน) อาการร้อนวูบวาบตามตัว เหงื่อออกมาในเวลากลางคืน นอนไม่หลับ หรือหลับแต่ไม่สนิท อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ วิตกกังวล ผิวบางลง มีริ้วรอยมากขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่ทานอาหารและออกกำลังกายเหมือนเดิม บางคนอาจมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด กลั้นลำบาก ช่องคลอดแห้ง ความรู้สึกทางเพศลดลง นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การมีความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลงจากเดิมด้วย
2. ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone)
อาการที่บอกว่าระดับเริ่มต่ำลง หรือ ขาดฮอร์โมน ได้แก่ สมรรถภาพทางเพศ ความรู้สึกทางเพศที่ลดลง การแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลง ไขมันเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อก็เริ่มลดลง หงุดหงิดง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่กระฉับกระเฉง ขาดความมั่นใจและสมาธิ เป็นต้น
3. ส่วนฮอร์โมนที่สำคัญตัวอื่น ๆ ที่สำคัญที่พบได้บ่อย เช่น
– ปัญหาจาการที่ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานน้อยลง (Hypothyropidism / Subclinical Hypothyroidism) ทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายเราต่ำลง อ้วนง่ายขึ้น เหนื่อยเพลีย ๆ เป็นคนเชื่องช้า ไม่กระฉับกระเฉง ขี้หนาวง่าย เป็นต้น
– ปัญหาฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (Adrenal hormones) ได้แก่ ฮอร์โมนคอร์ต์ซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (DHEA) ฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกาย แต่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของความเครียด (Stress) หากเราเป็นคนที่ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดอยู่บ่อย ๆ เป็นระยะเวลาที่นาน จะทำให้ฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ลดต่ำลง อาการที่เด่นชัด คือ อ่อนเพลียเรื้อรังแบบที่หาสาเหตุอื่นไม่เจอ เป็นภูมิแพ้ง่าย เจ็บป่วยไม่สบายบ่อย ๆ ปวดเมื่อยตามตัวหลาย ๆ ตำแหน่ง โดยหาสาเหตุอื่น ๆ ไม่พบ เป็นต้น
แนวทางในการดูแลผู้ที่มีปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนแบบองค์รวมที่สำคัญ ได้แก่
1) แนะนำเข้ามาปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อพูดคุยซักประวัติอย่างละเอียด ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์เพื่อดูระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง
2) หลังจากที่ทราบปัญหาของฮอร์โมนแต่ละตัวว่ามีอะไรบ้างนั้น แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิตในแต่ละวัน (Lifestyle modification) เช่น เรื่องของอาหารการกิน โภชนาการที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนต่าง ๆ การออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสมกับสุขภาพของแต่ละบุคคล การนอนหลับพักผ่อน รวมไปถึงวิธีการรับมือกับความเครียด เป็นต้น
3) ในกรณีที่คนไข้มีปัญหาของการขาดฮอร์โมนและมีอาการความผิดปกติที่ชัดเจนมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทนแบบธรรมชาติเพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไป ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของคนไข้ในแต่ละรายไป
4) ใช้สารอาหารที่มาจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน แร่ธาตุ สารสกัดจากพืช สมุนไพรต่าง ๆ ในรูปแบบของอาหารเสริมเฉพาะบุคคล (Personalized Dietary Supplements) ที่ผ่านการรับรองทั้งในด้านของวัตถุดิบและขั้นตอนการผลิตที่ได้คุณภาพระดับสากล ถือว่าเหมาะสมและตรงจุดกับปัญหาที่คนไข้เป็นอยู่มากที่สุด
.
5) ติดตามดูแลรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิดเป็นระยะ ๆ เพื่อผลการรักษาที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
.
เนื้อหาโดย…
นพ.เสฏฐวุฒิ งามเมธิชัยวงศ์
สาววัยทองมักพบเจอกับปัญหาผิวเหี่ยวย่น แห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น และบางทีอาจจะรู้สึกคันตามผิวหนัง
ซึ่งอาการทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายของเรา ทำให้คอลลาเจนใต้ผิวหนังและน้ำมันใต้ผิวหนังของเราลดลง
หลายคนมักเข้าใจว่าการทาโลชั่นจะช่วยให้ผิวเราชุ่มชื้นและไม่แห้งคัน แต่ทว่าการทาโลชั่นเป็นเพียงแค่การลดการสูญเสียน้ำของผิวเพียงชั่วคราวเท่านั้น
การแก้ไขผิวแห้งคันที่ถูกจุดควรจะ #แก้ปัญหาจากภายในสู่ภายนอก เช่น
1.#การทานอาหารที่มีวิตามินบีรวมสูง เพราะวิตามินบีจะช่วยไม่ให้ผิวของเราแห้งตึงหรือลอกเป็นขุย เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว อีกทั้งยังช่วยสมานแผล
2.#การทานอาหารที่มีวิตามินซี จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง
3.#การทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง จะช่วยให้ร่างกายของเราผลิตน้ำมันในชั้นผิวหนังดีขึ้น อาหารที่มีวิตามินเอสูงเช่น ธัญพืช อัลมอนด์ อะโวคาโด น้ำมันดอกทานตะวัน
4.#ทานตังกุยเกาหลี สุดยอดสมุนไพรที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในเพศหญิงซึ่งเป็นการแก้ปัญหาต้นเหตุของผิวแห้งคัน
5. #ดื่มน้ำให้มากกว่าวันละ_2ลิตร หรือ 8-10 แก้ว เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำและคืนความชุ่มชื้นให้กับผิว
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ผิวของเราขาดความชุ่มชื้นและแห้งคัน การทาโลชั่นไม่ได้ทำให้ผิวของเรากลับมาชุ่มชื้นอย่างแท้จริง
แต่การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์อย่าง วิตามินเอ, บี, ซี, ตังกุยเกาหลี และการดื่มน้ำให้เพียงพอตั้งหากที่เป็นการแก้ปัญหาผิวแห้งคันในวัยทองที่แท้จริงและถูกจุด
#กดติดตามช่องทางนี้ไว้_เพื่อไม่พลาดข้อมูลที่เภสัชกรกลั่นกรองมาให้แล้วว่าใช้ได้และมีประโยชน์จริงกับสาววัยทองค่ะ
ด้วยความปรารถนาดีจากเภสัชกร
#วัยทองไม่ง้อยา #วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน #สุขภาพดี
ติดต่อขอคำปรึกษา
097-295-1142
หลายคนคงเคยเข้าใจว่า “สิวมักจะเกิดในชข่วงวัยรุ่นเท่านั้น” แต่นั่นกลับเป็นสิ่งที่ทำให้สาวๆเข้าใจผิดจนละเลยที่จะดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ
สิวฮอร์โมน มีสาเหตุหลักๆ คือมาความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายของเรา เช่น ช่วงที่ประจำเดือนมา ช่วงที่มีความเครียดสูง หรือช่วงที่วัยที่หมดประจำเดือนแล้วก็ยังสามารถเป็นสิวฮอร์โมนได้
ผู้หญิงวัยที่หมดประจำเดือน จะมีกลไกการเกิดสิวจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนมีปริมาณที่ลดลง ทำให้ผิดขาดความชุ่มชื้น ยืดหยุ่นน้อยลง รวมไปถึงผิวเกิดความระคายเคืองได้ง่าย
3 เคล็ดลับผิวสวยห่างไกลสิวฮอร์โมน
#1_ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
– นอนให้เพียงพอ โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 7-8 ชั่วโมง นอกจากจะทำให้ผิวของเราดีแล้วยังทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราแข็งแรงอีกด้วย
– ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยดื่ม 6-8 แก้วขึ้นกับน้ำหนักของตัวเรา โดยไม่ดื่มมากเกินไปและไม่น้อยเกินไป หากเราดื่มน้ำน้อยไปจะส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนโลหิต ผิวขาดความชุ่มชื้น แต่หากเราดื่มน้ำมากไปก็อาจจะส่งผละกระทบต่อไตของเราได้
#2_ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-45 นาที ออกอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รูปแบบการออกควรประเมินให้เหมาะกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
#3_รับประทารอาหารที่มีประโยชน์และช่วยในการปรับสมดุล ชื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวของเรา เช่น อะโวคาโดที่มีวิตามินอี ช่วยบำรุงผิวพรรณ อีฟนิ่งพริมโรส โสม ตังกุยเกาหลี รวมไปถึงพืชในตระกลูเบอรี่
สิวออร์โมนเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ที่สาวๆ ไม่อยากมีอยู่บนใบหน้าอย่างแน่นอน เพราะฉนั้นการดูและตัวเองด้วยเคล็ดลับ 3 ข้อนี้เป็นการป้องกันที่ต้นตอและนอกจากจะเห็นผลเรื่องผิวแล้ว ยังทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
#กดติดตามช่องทางนี้ไว้_เพื่อไม่พลาดข้อมูลที่เภสัชกรกลั่นกรองมาให้แล้วว่าใช้ได้และมีประโยชน์จริงกับสาววัยทองค่ะ
ด้วยความปรารถนาดีจากเภสัชกร
.
.
#วัยทองไม่ง้อยา #วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน #สุขภาพดี
หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปปรวน คืออาการที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่เกี่ยวกับนิสัย แต่เกิดจากการเป็นโรคไบโพลาร์ หรือเกิดอาการนี้ในผู้หญิงวัยทอง
โดยทั่วไปแล้วหากเราไม่รู้สาเหตุของอารมณ์หงุดหงิดง่าย แปรปรวนที่เป็นอยู่ แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจสอบการใช้ยาในขณะนั้น รวมไปถึงการทำแบบสอบถามประเมินสุขภาพจิต เพื่อจำแนกให้ชัดเจนว่าต้นตอที่แท้จริงคืออะไรกันแน่
อาการหงุดหงิดง่ายในวัยทองเกิดจาก #ความผิดปกติของระดับฮอร์โมนในร่างกาย หากฮอร์โมนผิดปกติจะส่งผลต่อการทำงานของ “สมอง” ทำให้เรามีระบบการคิดและการแสดงออกทางร่างกายที่ผิดปกติไปจากเดิม
อาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเรา หากปล่อยไว้นานก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก และการใช้ยาก็ไม่ใช้ทางออกที่ดีสักเท่าไหร่
#ทางออกของอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
1/#ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายของเราหลั่งสารแห่งความสุข หรือ “เซโรโทนิน” ทั้งยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดความตึงเครียดได้
2/#การนั่งสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ อาจจะดูเป็นวิธีที่ธรรมดา แต่ว่าเห็นผลได้อย่างชัดเจน มีงานวิจัยพบว่าขณะที่เรานั่งสมาธิ สมองจะปล่อยคลื่นทีต้าออกมา ส่งผลให้จิตใจของเราสงบ และสมองผ่อนคลาย
3/#รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยลดอาการหงุดหงิดง่าย ในวัยทองอารมณ์หงุดหงิดง่ายเกิดมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ดังนั้นการทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน หรืออาหารที่มีประโยชน์จะสามารถช่วยลดอาการอารมร์หงุดหงิดง่ายนี้ได้
อารมณ์หงุดหงิดง่าย แปรปรวนที่เกิดจากวัยทองมักเกิดมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกายของเราที่ผิดปกติ ทางออกก็ง่ายๆ เพียงแค่เราเริ่มที่ตัวเรา เริ่มออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นั่งสมาธิ ทานอาหารที่มีประโยชน์ แค่นี้เราก็สามารถห่างไกลจากผลกระทบที่จะเดขึ้นจากอารมณ์หงุดหงิดง่ายของเราได้แล้ว
#กดติดตามช่องทางนี้ไว้_เพื่อไม่พลาดข้อมูลที่เภสัชกรกลั่นกรองมาให้แล้วว่าใช้ได้และมีประโยชน์จริงกับสาววัยทองค่ะ
ด้วยความปรารถนาดีจากเภสัชกร
#วัยทองไม่ง้อยา #วัยทอง #วัยหมดประจำเดือน #สุขภาพดี
Cr: www.facebook.com/วัยทอง-ไม่ง้อยา
วัยทอง (Menopause) คือ ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน ถ้าประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี แสดงว่ารังไข่ได้หยุดทำงานแล้ว และถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ โดยอายุเฉลี่ยที่ผู้หญิงไทยเข้าสู่วัยทองประมาณ 48-52 ปี